2024-11-15

10 สัญญาณโลกร้อน ฤๅน้ำจะท่วมโลก ปลาจะกินดาว




น้ำจะท่วมโลก ปลาจะกินดาว คนโบราณเคยกล่าวทำนายสภาพแวดล้อมประเทศไว้อย่างนั้น ฟังดูแล้วเป็นเรื่องเหนือจริง คล้ายกัน กับว่า “เมืองไทย” คงไม่มีวันที่หิมะตก


ใครจะคาดคิดว่าเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมาวันที่ 11 มกราคม เกิดหิมะตกครั้งแรกในอิรัก ทำให้ต้องหันกลับมาคิดว่าวันหนึ่งเมืองไทยอาจพบเจอกับภาวะธรรมชาติแปรปรวน



โลกเล่นตลกให้ดูหรือ ค่อย ๆ เปิดเผยความจริงอันโหดร้ายให้เห็น ปรากฏการณ์ธรรม ชาติเกิดวิกฤติ ที่พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทุกคนลงความเห็นว่าวิกฤติเหล่านี้คือผลกระทบของภาวะโลกร้อน


ในปีนี้เราจะเห็นปรากฏการณ์โลกร้อนอะไรเกิดขึ้นบ้าง....


#news#

ปีนี้เป็นปีที่เรียกว่า “ลานิน ญา” เป็นปีที่เรียกว่าปีฉ่ำแฉะ มีฝนตกในหลายพื้นที่น้ำจะเยอะ เมื่อปีที่แล้วเราเผชิญกับเอลนิโญ ร้อนแล้ง ถ้าพูดถึงเมืองไทยและเอเชีย เราอาจได้เจอกับลานินญา แต่ฝั่งประเทศตะวันตกอเมริกาจะเกิดภาวะแห้งแล้ง”



ดร.จิระพล สินธุนาวา อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้เกาะติดสถาน การณ์การละลายของน้ำแข็ง ขั้วโลก และผลกระทบสภาวะโลกร้อน ด้านต่าง ๆ บอกเล่าว่า ปีที่ผ่านมา เกิดหิมะถล่มในอเมริกา เกิดไฟป่า โคลนถล่ม ในปีหน้า จะเยอะกว่านี้ เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น


ภาวะโลกร้อนนอกจากฝนตก น้ำท่วม มีภัยพิบัติธรรม ชาติต่าง ๆ ตามมา ทั้ง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ไฟป่า ฤดูกาลแปรเปลี่ยน เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่เป็นต้น


ดร.จิระพล ฉายภาพของผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ออกมาให้ฟัง 10 ภาคใหญ่ ๆ ดังนี้ ไม่ว่าปีนี้หรือปีไหนชาวโลกจะต้องประสบ เพราะปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออก ไซด์ในหลาย ๆ ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง


ประการแรก “คลื่นความร้อน” แต่ละปี คลื่นความร้อนคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก ปีที่ผ่านมาชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตด้วยคลื่นความร้อน 14 คน อินเดีย 100 กว่าคน ปากีสถาน 50 คน ฮังการีตายไปสูงสุด 500 กว่าคน


สาเหตุของการตายเพราะร่างกายเสียน้ำเสียเหงื่อมากจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ที่ผ่านมาบ้านเรายังไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่เกิด เพราะลักษณะการเกิดคลื่นความร้อน จะเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ในแต่ละพื้นที่


ดร.จิระพลได้ฝากวิธีปฏิ บัติตัวเพื่อให้รอดชีวิตจากคลื่นความร้อนว่า อันดับแรกให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ ลดอาหารมัน ๆ หันมารับประทานอาหารที่ย่อยง่าย


สวมใส่เสื้อผ้าสบายตัว ไม่รัด ไม่หนา ถ้าอุณหภูมิสูงไม่ควรออกนอกบ้าน หรือถ้าจำเป็นต้องออกจากบ้าน ควรมีผ้าขนหนูชุบน้ำปิดศีรษะเพื่อมิให้สูญเสียน้ำ


ประการที่ 2 ของผลกระทบโลกร้อน ที่จะปรากฏคือ น้ำทะเลจะสูงขึ้น สืบเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลขยายตัว ความแรงของคลื่นก็สูงขึ้นด้วย


ส่งผลต่อการกัดเซาะชายฝั่งกินอาณาเขตกว้างไกลออกไป บ้านเรือน ต้นไม้ชายหาด หรือแม้แต่ฟาร์มสัตว์น้ำริมทะเลจะได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะนี้ สูงขึ้น


ประการที่ 3 “น้ำแข็งบนยอดเขาสูงละลาย” เหตุการณ์นี้จะเกิดการขาดแคลนน้ำจืดในฤดูร้อนของหลายประเทศด้วยกัน อย่าง บังกลาเทศ พม่า ทิเบต ภูฏาน ซึ่งต้องอาศัยน้ำแข็งที่อยู่บนยอดเขาหิมาลัย ละลายลงมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ใช้ในการเกษตรใช้ในการอุปโภค บริโภค


ดังนั้นเมื่อน้ำแข็งละลายลงอย่างรวดเร็วจะเกิดน้ำท่วม และผลกระทบยังลามไปถึงผลเสียหายต่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศ


ประการที่4 เชื่อมโยงกับเรื่องการละลายของน้ำแข็ง ขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้ละลายเร็วขึ้น ส่งผลต่อฤดูกาลเปลี่ยน เพราะน้ำแข็งจากขั้วโลกเหนือคือตัวกำหนดฤดูกาล จะเป็นสิ่งกำหนดว่าฤดูฝน หรือฤดูหนาวสั้นยาวเท่าไร ตรงนี้มีผลด้วย



นอกจากนี้น้ำแข็งที่ละลายหายไปอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้กระแสน้ำอุ่นที่ไหลเวียนผ่านประเทศต่าง ๆ ชะลอลงด้วย ยามเมื่อถึงฤดูหนาว อากาศจะหนาวเย็นเพิ่มขึ้น


ผลกระทบประการที่ 5 เกิดการแพร่ระบาดของโรคร้ายหลายชนิด ดร.จิระพลย้ำว่า เป็นเรื่องที่น่าห่วงมากเมื่ออากาศร้อนมากขึ้น อาหารจะบูดเสียเร็วขึ้น อาหารกระป๋องที่ระบุวันหมด อายุไว้ อาจจะหมดอายุก่อนกำหนด


นอกจากนี้อาจพบเชื้อโรคหวัดสายพันธุ์ใหม่ เพราะเกิดการขยายพื้นที่ของเชื้อโรคไข้สมองอักเสบ โดยมี ค้างคาวแม่ไก่ เป็นพาหะ


สัตว์ชนิดนี้มีถิ่นที่อยู่อาศัยใน เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ผลจากไฟป่า อากาศร้อนขึ้น ค้างคาวแม่ไก่จะอพยพย้ายถิ่นมาอยู่ประเทศไทยพร้อมนำพาเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบติดตัวมาด้วย



ค้างคาวแม่ไก่ชอบกินผลไม้สุก ทั้งคนและสัตว์ ไปเก็บผลไม้ที่มีรอยกัดกินหรือร่วงหล่นบนพื้นไปบริโภค อาจได้รับเชื้อไปด้วย รวมทั้งสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนู นก งู สัตว์เลื้อยคลานทุกชนิด ต่างมีสิทธิได้รับเชื้อโรคเป็นห่วงโซ่


คนไม่มีโอกาสรู้ ไปจับมาบริโภคเป็นอาหาร เชื้อโรคที่ฝังตัวอาจแพร่มาสู่คน


ดังนั้น อาหารที่ไม่ผ่าน กระบวนปศุสัตว์ผลิตจากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน จะเป็นอาหารที่เสี่ยงอันตราย เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรเลิกบริโภคต่อไปในอนาคต


ผลกระทบประการที่ 6 ฤดูใบไม้ผลิจะมาเร็วกว่ากำหนด นั่นหมายความว่าจำนวนวันที่หนาวลดลง แต่จำนวนวันร้อนกลับเยอะขึ้น ทำให้เกิดการแปรปรวนทางอากาศ ซึ่งสัตว์บางชนิด เช่น ยุง ต้องรอให้อุณหภูมิ 11-12 องศาเซลเซียส จึงตาย


หากอากาศร้อนคงอยู่ ยุงสามารถรอดตาย เชื้อโรคไวรัส แบคทีเรียอาศัยในยุงจะเจริญเติบโตแข็งแรง เมื่อไปกัดคนก็เพิ่มเชื้อแพร่ระบาด อีกทั้งอากาศร้อนยังทำให้แมลงศัตรูพืชแข็งแรง เกษตรกรต้องใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นเป็นวงจรไปอย่างนี้


ผลกระทบประการที่ 7 สัตว์ป่าจะเกิดการอพยพหนีการรุกราน ยกตัวอย่างเช่นดอยสุเทพ เวลานี้สัตว์ป่าเริ่มถูกคุกคามจากยุงเพราะอากาศร้อนยุงเริ่ม คืบคลานไปอยู่ยังยอดเขาสูงได้


สัตว์เจ้าถิ่นเช่น นก กวาง เก้ง เริ่มอพยพไปยังถิ่นใหม่ ที่มีสัตว์เจ้าถิ่นอยู่แล้วจึงเกิดการต่อสู้กันเพื่อแย่งถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้สัตว์ล้มตาย เกิดผลเสียหายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ


ผลกระทบประการที่ 8 เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว อุณหภูมิสูงขึ้นทำให้เซลล์ปะการังตาย น้ำทะเลมีความเป็นกรดมากขึ้นแหล่งปะการังอันเป็นเนอร์สเซอรี่ ของสัตว์น้ำวัยอ่อนก็ได้รับผลนี้ด้วย


นอกจากนี้อาจเกิดการแพร่กระจายของ “สาหร่ายบูม” สาหร่ายสีน้ำตาลแดง ลอยมาติดหน้าชายหาด ส่งกลิ่นเหม็น สาหร่ายชนิดนี้มีเชื้ออหิวาตกโรค ปลาหรือสัตว์น้ำจะมีการปนเปื้อนของเชื้ออหิวาตกโรค มากขึ้น


ผลกระทบประการที่ 9 เกิดฝนตกหนักเฉพาะที่ สาเหตุที่ฝนตกหนักเฉพาะที่ เพราะไม่มีลมที่ทำให้เม็ดฝนกระจายตัว ความชื้นในอากาศเยอะ ลอยตัวต่ำ จึงไม่สามารถไปตกที่อื่น ๆ ได้ เมื่อตกเฉพาะที่เกิดน้ำท่วม ดินถล่มตามมา


ผลกระทบประการที่ 10 เกิดภัยแล้ง ไฟป่า สัตว์ต้องอพยพจากถิ่น ทำให้เกิดความขาดแคลนน้ำที่อยู่ในใต้ดินถึง 15 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้คนอาจเกิดโรคภัยตามมาจากปัญหาหมอกควันของไฟป่า



ทุกวันนี้ คนไทยรู้เรื่องภาวะโลกร้อนมากขึ้น แต่ไม่ทำอะไรเลย ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม หันมาเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยกันลดภาวะโลกร้อนน้อยมาก


ทุกคนยังใช้รถยนต์ส่วนตัวไปทุกหนทุกแห่ง บรรดาซูเปอร์มาร์เกต ยักษ์ใหญ่ที่มีบริษัทแม่อยู่ในต่างชาติ ยังใจดีให้ถุงพลาสติกมากมายเพราะเกรงลูกค้าจะหดหาย หากคิดสตางค์ค่าถุง


หากทุกคนคิดจะช่วยลดดีกรีความร้อนของโลก...คงต้องเริ่มนับหนึ่งที่ตัวเองก่อน


ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก www.sanook.com

NATUI Officially 2009-08-15 18:45:01 17768