ยาบางชนิดรับประทานเวลาใดก็ได้ แต่บางชนิดก็ห้ามรับประทานเพิ่มขนาดเมื่อลืมรับประทานยาก่อนหน้านั้นหรือยาบางชนิดก็ไม่ควรบดก่อนรับประทาน ดาราหนุ่มชาวออสซี่ ฮีธ เลดเจอร์ เสียชีวิตอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงของยาประมาณ 6 ชนิด ที่เขารับประทานในคราวเดียวกัน เช่น ยาแก้ปวด ยานอนหลับ ยาต้านความหวาดกลัว ฯลฯ กรณีนี้จึงเป้นอุทาหรณ์ให้แก่บุคคลทั่วไปในการใส่ใจตอบคำถามแพทย์หรือเภสัชกร และอ่านฉลากยาให้ถูกต้องก่อนรับประทานยาเพื่อความปลอดภัยของชีวิตโดนเภสัชกรได้ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการรับประทานยาให้ถูกต้องดังนี้ค่ะ
Q:การรับประทานยาวันละครั้ง สามารถสับเปลี่ยนเวลาในการรับประทานอาหารได้มั้ยคะ
A: ขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่รับประทานว่าเป็นชนิดใดเนื่องจากยาแต่ละชนิดจะแตก ต่างกัน เช่น หากเป็นยาแก้ปวด แก้แพ้ ที่รับประทานแล้ววันละครั้งแล้วสามารถควบคุมอาการได้ ก็สามารถเปลี่ยนเวลารับประทานได้โดยขึ้นอยู่กับความสะดวกของคนไข้แต่ยาบาง ชนิด เช่น ยาลดคอเลสเตอรอล กลุ่ม statin บางชนิดควรรับประทานเวลาเย็นหรือก่อนนอนเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการออก ฤทธิ์ของยาดีกว่าช่วงอื่น เนื่องจากยาจะไปยับยั้งการสร้างคอเลสเตอรอลที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่เรานอน หลับส่งผลให้ยาที่รับประทานมีประสิทธิภาพสูงสุด
Q:ควรรับประทานยาให้ตรงเวลาทุกครั้งมั้ยหรือทิ้งช่วงเวลาห่างกันได้มากน้อยแค่ไหน
A:ยาที่ต้องรับประทานต่อเนื่องส่วนใหญ่ควรรับประทานให้ตรงเวลาเพื่อรักษาระดับยาในกระแสเลือดให้คงที่ โดยเฉพาะกลุ่มยาฆ่าเชื้อต่างๆ หากรับประทานยาไม่ตรงเวลาอาจทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือเชื้ออาจดื้อยาตัวนั้น ทำให้ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นๆ หรือหากลืมรับประทานยาก็ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้ถึงมื้อที่จะต้องรับประทานแล้ว ก็ไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่าเพราะอาจทำให้ได้รับยาในขนาดที่มากเกินไปจนเป็นอันตรายได้
Q:บดหรือหักยาให้เล็กลงก่อนรับประทานได้มั้ย
A:โดยส่วนใหญ่ไม่แนะนำให้หักยาหรือบดยาโดยเฉพาะในกรณีที่เม็ดยาอยู่ในรูปแบบออกฤทธิ์นานหรือค่อยๆปลกปล่อยตัวยา(Retard) ข้อสังเกตของยากลุ่มนี้ก็คือ มักจะมีสัญลักษณ์เป้นตัวอักษร MR,SR,CR ด้านหลังชื่อยา ซึ่งเป้นลักษณะในการผลิตเม็ดยาประเภทนี้ ยากลุ่มนี้ได้รับการผลิตขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการรับประทานยาของคนไข้จากที่ต้องรับประทาน 3 มื้อ ก็ลดลงเหลือแค่มื้อเดียวต่อวัน แต่ให้ผลการรักษาเทียบเท่ากันดังนั้น หากบดหรือหักยาอาจทำให้การปลดปล่อยยาเปลี่ยนแปลง คนไข้อาจได้รับยามากเกินไปซึ่งส่งผลกระทบต่อการรักษาและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ยาในรูปแบบนี้บางตัวก็สามารถหักแบ่งได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระบวนการในการผลิตยาแต่ละตัว ดังนั้น จึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อน
#news#
Q:ผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้น "บ่อย" หมายถึงอะไร
A:ผลข้างเคียงคืออาการที่ไม่พึงประสงค์ นอกเหนือจากจุดประสงค์ในการรักษา ซี่งสามารถทำนายได้ก่อนที่จะรับประทานยาดังนั้น เราสามารถป้องกันอาการต่างๆได้ เช่น ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดอาการข้างเคียงคู่กับยาฆ่าเชื้อที่มักมีผลเคียงข้างและอาการข้างเคียงส่วนใหญ่จะหายไปได้เองเมื่อยาที่รับประทานหมดฤทธิ์ ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเป็นอันตราย เช่น เมโทรนิดาโซล เป็นยาฆ่าเชื้อที่มักมีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งสามารถลดอาการข้างเคียงได้โดยรับประทานยานี้ทันทีหลังอาหาร ทั้งนี้ ยาแต่ละกลุ่มจะมีผลข้างเคียงแตกต่างกันออกไป เช่น
1.ยาฆ่าเชื้อ(Antibiotic) มักทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
2.ยาลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ มักทำให้มีอาการง่วงซึม ปากแห้ง คอแห้ง
3.ยาต้านการอักเสบและแก้ปวด มักทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร
4.ยาแก้คัดจมูกและยาขยายหลอดลม มักทำให้เกิดอาการใจสั่น
Q:การรับประทานยาก่อนอาหารหมายความว่าอย่างไร
A:ยาที่ให้รับประทานก่อนอาหารควรรับประทานก่อนอาหาร 30 นาที ถึง 1 ชม.เพราะยาจะดูดซึมได้ดีในขณะที่ท้องว่างหรืออาหารอาจะขัดขวางการดูดซึมของยาหากนำยาก่อนอาหารไปรับประทานหลังอาหารหรือรับประทานใกล้กับมื้ออาหารมากเกินไปอาจทำให้ระดับยาในเลือดน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง
Q:ทำไมจึงไม่ควรดื่มนมเมื่อรับประทานยาปฏิชีวนะ
A:จริงๆแล้วไม่ใช่ยาปฏิชีวนะทุกตัวที่ห้ามรับประทานร่วมกับนม มีเฉพาะยาบางกลุ่มเท่านั้น เช่น กลุ่ม tetracycline และกลุ่ม Fluoroquinolone บางชนิด เป็นต้น เนื่องจากยาอาจไปจับกับแคลเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบในนม ส่งผลให้ยาไม่ดูดซึมก็จะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง
Q:หากรับประทานปฏิชีวนะ สามารถรับประทานยาอื่นร่วมด้วยได้มั้ย
A:ยาส่วนใหญ่มักรับประทานร่วมกับยาปฏิชีวนะได้เพื่อรักษาอาการอื่น แต่ก็มียาบางประเภทที่ไม่แนะนำให้รับประทานร่วมกับยาปฏิชีวนะ เช่น ยาเม็ดเพื่อคุมกำเนิด เนื่องจากยาปฏิชีวนะจะส่งผลต่อการลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดของยานั้น หากมีความจำเป็นต้องรับประทานควบคู่กัน ขอแนะนำให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัย
Q:เมื่อไหร่ควรเลิกรับประทานยา
A:ระยะเวลาในการใช้ยาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับการรักษา แต่ที่พบบ่อยๆ มีดังนี้
1. ใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น จะเป็นยาที่ใช้ตามอาการซึ่งเมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้หยุดยาได้เลยไม่ต้องใช้ยาติดต่อกันจนหมด เช่น ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ
2.ใช้ติดต่อกันจนหมด คือการใช้ยาแบบนี้จะพบมากในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้ออื่นๆซึ่งหากยาชนิดนั้นเป็นยาที่ดีได้ผล ต้านเชื้อได้ดีจำนวนเชื้อก็จะค่อยๆลดลง จนถึงจุดที่การแสดงอาการต่างๆเริ่มลดลง เช่น ถ้าเป็นโรคคออักเสบอาการเจ็บคอก็จะลดลง แต่ก็ยังคงมีเชื้อบางส่วนหลงเหลืออยู่ หากเราหยุดรับประทานยา เชื้อเหล่านั้นก็อาจเพิ่มจำนวนอีก ซึ่งเชื้อเหล่านั้นอาจมีการปรับตัวและดื้อต่อยาตัวเดิม ดังนั้น ในการใช้ยาฆ่าเชื้อจึงต้องรับประทานติดต่อจนครบกำหนดตามที่แพทย์สั่งจ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 5-7 วัน แต่ในโรคติดเชื้อบางชนิดอาจใช้ระยะเวลาสั้นกว่านี้ เช่น โรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือบางโรคอาจต้องใช้เวลาในการรักษานานเช่น วัณโรค
3.ใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน ห้ามหยุดยาเอง คือยาชนิดนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ยารักษาโรคเหล่านี้ต้องรับประทานต่อเนื่อง เพราะมันจะออกฤทธิ์ควบคุมอาการผิดปกติของร่างกายให้ลงมาอยู่ในระดับที่ปลอดภัย พร้อมทั้งต้องไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการใช้ยา เพราะอาจมีการปรับเพิ่มหรือลดขนาดยา หรือเปลี่ยนชนิดยา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาวะคนไข้ในตอนนั้น
Q:เวลากลืนยาควรนั่งหรือยืน
A:การรับประทานยาเราสามารถนั่งหรือยืนก็ได้แต่ควรให้ลำตัวอยู่ในท่าตั้งตรงตั้งฉากกับพื้น นอกจากนี้การรับประทานยาบางชนิดจะมีคำแนะนำพิเศษหลังรับประทานยาบางชนิดจะมีคำแนะนำพิเศษหลังรับประทานยา เช่น ยากลุ่ม Bisphosphonate ที่รักษาภาวะกระดูกพรุน หลังรับประทานยาควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือยืนประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชม. เนื่องจากหากผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหรือเอนหลังจะทำให้ยาไหลย้อนกลับมายังบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งอาจจะระคายเคืองทำให้เป็นแผลหรือแสบร้อนได้
Q:ทำไมจึงควรดื่มน้ำเมื่อรับประทานยา
A:เมื่อเรารับประทานยาเข้าไป ยาจะต้องละลายแตกตัวออกจากรูปแบบเม็ดที่กลืนเข้าไป และดูดซึมไปสู่กระแสเลือดเพื่อออกฤทธิ์ ซึ่งในการละลายของยาก็ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวทำละลายและแตกตัวจากเม็ดหากต้องดื่มน้ำน้อยเกินไปจะทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลงไป ระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ระดับยาในกระแสเลือดอาจจะน้อยกว่าปกติทำให้มีประสิทธิภาพในการรักษาน้อยลง ดังนั้นจึงควรรับประทานพร้อมกับน้ำเปล่าหนึ่งแก้วเต็มๆและไม่ควรรับประทานยาร่วมกับเครื่องดื่มอื่นๆ เนื่องจากอาจทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท