2024-11-14

การใช้ไวยกรณ์ที่ถูกต้องในการเขียนเชิงวิชาการ





สวัสดีค่ะ น้องๆ สำหรับน้องๆที่กำลังเรียนภาษาอยู่เรียนมหาวิทยาลัยหรือ College ก็ตามค่ะ วันนี้ DK Science & Learning มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับไวยกรณ์ที่ถูกต้องของการเขียนเชิงวิชาการ น้องๆบางคนที่เรียนมหาลัยแล้ว แต่ไม่ได้เรียนในด้านที่เกี่ยวกับภาษาโดยตรง เช่นคณะ IT, วิศวะ ฯลฯ เวลาเขียนเล่มส่งอาจารย์อาจจะไม่เน้นเรื่อง ของไวยกรณ์มากนัก แต่ได้ยินมาว่าน้องๆบางคนที่เรียนคณะเหล่านี้บางมหาวิทยาลัยมีให้คะแนนไวยกรณ์เหมือนกันในบางวิชา ดังนั้น บทความของเราน่าจะมีประโยชน์กับน้องๆหลายๆคนทีเดียวค่ะ กฎแรกที่เราจะเรียนกันเลยวันนี้คือเมื่อไหร่ที่เราควรจะเริ่มประโยคหรือคำต่างๆ ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ (Capitalization Rules) น้องๆ บางคนเจออะไรก็ใส่เป็นตัวใหญ่ บางทีไม่ถูกต้องนะคะ


1. กฎแรก คือน้องๆคงทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ คือ ตัวอักษรแรกเมื่อเราเริ่มประโยคใหม่ เราต้องใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ ตัวอย่างเช่น There was a three-story building on the corner.


2.ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับคำสรรพนาม I และ A.D, B.C , B.E
A.D หมายถึง คริสต์ศักราช
B.C หมายถึง ก่อนคริสต์ศักราช
B.E หมายถึง พุทธศักราช


3. Proper noun (นามชื่อเฉพาะ), Proper Adjective คือคำคุณศัพท์ที่มาจากคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ
ชื่อของคน ตัวอย่างเช่น Sally, Tom
ชื่อของสถานที่ บริษัท องค์กร เช่น DK Science & Learning
ชื่อของประเทศ เช่น Thailand
ชื่อของเหตุการณ์ต่างๆ เอกสาร กฎหมาย ยุคต่างๆ เช่น Aboriginal Land Rights Act 1983 No 42, Civil War, Renaissance Festival
ชื่อของวัน เวลาต่างๆ เช่น Christmas, December, Father's Day (calendar events)
ชื่อของศาสนา พระเจ้า คัมภีร์ไบเบิล Buddhism
ชื่อของรางวัน รุ่น ยี่ห้อ Pizzaria, the Nobel Peace Prize.
ชื่อเมือง รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐบาล เช่น the Republic of the Philippines
ชื่อถนน เช่น Tarrants Avenue
ชื่ออาคารหรือสถานที่ที่เป็นที่รู้จักในพื้นที่ เช่น Victory Monument


Proper Adjective คือคำคุณศัพท์ที่มาจากคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น Thai, Chinese, Victorian architecture.


ทีนี้เรามาดูกันว่าเมื่อไหร่ที่เราไม่ควรจะใช้ตัวอักษรใหญ่กัน การทำให้เป็นตัวอักษรใหญ่ทั้งๆที่ไม่จำเป็นก็ถือว่าผิดหลักนะคะ ตัวอย่าง เช่น


1.ทิศ เช่นทิศเหนือ ตะวันตก ตะวันออก จริงๆแล้วคำนี้ในภาษาอังกฤษถ้าเราใช้ในความหมายถึงทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นคำนาม คุณศัพท์ คำวิเศษณ์ กิริยาวิเศษณ์ ฯลฯ ให้เราใช้ตัวเล็กค่ะ เช่น We headed west after the Depression. แต่ถ้าเราใช้ ในความหมายของพื้นที่เฉพาะเจาะจง ส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศ หรือของโลกแล้วล่ะก็ จำเป็นที่จะต้องใช้ตัวใหญ่ค่ะ ตัวอย่างเช่น The West can be referred to the countries of (originally) Europe and (now including) North America and South America.


2.สมาชิกในครอบครัว ถ้าอยู่เดี่ยวๆต้องใช้ตัวใหญ่ แต่ถ้ามีสรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของมานำหน้า เช่น my, our, your, his, her, their ให้เปลี่ยนเป็นตัวเล็กเหมือนเดิมค่ะ เช่น After my mother called me for lunch, Father served the entrée.


3.ชื่อวิชาทั่วไป ไม่ต้องใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ค่ะ เช่น "There are no such things as applied sciences, only applications of science" [Louis Pasteur] ยกเว้นว่าเป็นรายชื่อวิชาของหลักสูตรเฉพาะหนึ่งๆ เช่น Sally is taking Algebra II and Trigonometry I next semester.


หัวข้อหน้าพบกับการใช้เครื่องหมายวรรคตอนอื่นๆกันค่ะ


#news#


ขอบคุณบทความดี ๆ จาก :

Sally Thitayarak
Thai Education Consultant
Web: www.dksydney.com.au
facebook : www.facebook.com/dksydney.australia

NATUI Officially 2010-05-20 20:58:49 25059