2024-11-14

ร่วมทำบุญงานวันสารทเดือนสิบ




 




 

ขอเชิญพี่น้องชาวไทยในออสเตรเลีย ไปร่วมทำบุญกันในวันสารทที่กำลังจะมาถึง วันอาทิตย์ที่ 10 เดือน 10 ปี 2010 นี้ ณ วัดป่าพุทธรังษี ลูเมียร์ แคมป์เบลทาวน์ ตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น

เนื่องด้วยการจัดงานวันสารท มีหลากหลายกิจกรรม และจัดให้มีเพื่อความก้าวหน้าและมั่นคงของเทศกาลงานวันสารทเดือนสิบในประเทศออสเตรเลียเราคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งนะคะ ที่พวกเราชาว natui.com.au จะได้ไปร่วมทั้งทำบุญ ร่วมชมกิจกรรมการแสดงโชว์นาฎศิลป์ การแสดงหนังตลุง ฯลฯ ซึ่งงานนี้เราอยากจะให้พวกเราในฐานะที่เป็นคนไทยที่นี่ ช่วยกันทำให้งานนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว และเป็นประเพณีวัฒนธรรมนำสืบชาติไทยตลอดกาล


 

งานนี้เราก็อยากจะเชิญชวนให้พวกเราชาว natui.com.au ไปกันเยอะๆ นะคะ นานๆ ทีจะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกันในที่ๆ ไกลบ้านครั้งยิ่งใหญ่แบบนี้สักที และสามารถสำรองที่นั่งรถเดินทางไปร่วมงานวันสารทเดือนสิบได้ก่อนใครที่จำปีทราเวลนะคะ รีบด่วนนะคะ เดี๋ยวเต็ม 02 9280 1222 งานนี้ฟรีจ้า!! แล้วเจอกันวันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม นี้ค่าาาาา...


โปรแกรมงาน วันสารทเดือนสิบ

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ วัดป่า พุทธรังษี ลูเมียร์
๐๙.๐๐ น. ไหว้พระรับศีลในพระอุโบสถร่วมกัน
๐๙.๓๐ น. หนังตลุงแสดงช่วงแรก
๐๙.๔๕ น. พระภิกษุรับบิณฑบาตรรอบพระเจดีย์
๑๐.๔๕ น. แห่หมฺรับ
๑๑.๐๐ น. ถวายอาหารแด่พระสงฆ์
เพลงบอก ขับโดยคณะจากเมืองไทย
๑๑.๓๐ น. การแสดงนาฏศิลป์และโนรา
๑๒.๐๐ น. พิธีเปตพลี
๑๒.๓๐ น. พิธีสรงน้ำพระเถระ ๓ รูป
เพลงบอก ขับโดยคณะจากซิดนีย์
หนังตลุงแสดงช่วงที่ ๒

จบพิธี


รายการแสดง
๐๙.๓๐ และ ๑๓.๐๐ น. การแสดงหนังตลุง คณะเสรี วัชรศิลป์
๑๐.๓๐ – ๑๑.๐๐ น. เพลงบอก ขับโดยคณะจากเมืองไทย
๑๑.๓๐ น. โชว์นาฏศิลป์
- คณะครูแอ๊ด
- คณะโรงเรียนวัดพุทธรังษีแสตนมอร์
- โนราชุมชนไทยซิดนีย์
จบรายการแสดง


ฝ่ายอาหาร – ของหวานไทย ( เปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา ๙.๓๐ น. )
แผนกอาหาร เตรียมงานโดย
เลขาสมาคมฯ คุณวิไลพร โทมัส
คุณ ออน ร้านอาหารเฉลียวไทย
รายการโปรโมทของหวาน เตรียมงานโดย
คณะทีมงาน ร้านลัคคี้ของชำ นครซิดนีย์



 

เรามารู้จักประวัติความเป็นมาของวันสารทเดือนสิบกันค่า...


 

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ


การทำบุญวันสารทเดือนสิบ หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า วันชิงเปรตนั้นในเดือนสิบ(กันยายน) มีการทำบุญที่วัด 2 ครั้ง

- ครั้งแรก วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันรับเปรต

- ครั้งที่สองวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันส่งเปรต


การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิเป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเพื่อร่วมพิธีตั้งเปรตและชิงเปรตอาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่งจึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และ รู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น
ขนมเดือนสิบ จัดขึ้นโดยเฉพาะใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบ ที่จำเป็นมี 5 อย่าง คือ


1.ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
2.ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง
3.ขนมกง ( ขนมไข่ปลา ) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ

4.ขนมเจาะรูหรือขนมเจาะหูหรือขนมเบซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย
5. ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์


ในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ ชาวบ้านจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัดชาวบ้านเรียกวันนี้ว่าวันชิเปรตเป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรตชนมาเยี่ยมลูกหลาน ลูกหลานก็ทำบุญต้อนรับครั้งหนึ่งใน วันแรม 15 ค่ำเดือนสิบเรียกว่าวันส่งเปรตเป็นวันที่เปรตชนต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็จะทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง


 

ประเพณีปฏิบัติ


ก่อนวันงาน ชาวบ้านจะทำขนมที่เรียกว่า กระยาสารท และขนมอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น
ในวันงาน ชาวบ้ายจัดแจงนำข้าวปลา อาหาร และข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้าน
ทายก ทายิกา ไปถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล นำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่นไปฝากซึ่งกันและกันยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกลหรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน


บางท้องถิ่นทำขนมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ด้วย เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้วก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้เพื่อการนั้นโดยเฉพาะ


 

ความเชื่อ


วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข 
อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก


 

วันเวลา


การกำหนดทำบุญวันสารท มีความคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละท้องถิ่นของไทย เช่น
- ภาคกลาง กำหนดในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
- ภาคใต้ กำหนดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันรับตายาย และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันส่งตายาย 

ชาวมอญ กำหนดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11


อย่างไรก็ตาม สารทไทยโดยทั่วไป ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เนื่องจากนับถัดจากวันสงกรานต์ ตามจันทรคติจนถึงวันสารทจะครบ 6 เดือน พอดี


 

ประเพณีสังวร


วิธีปฏิบัติในการทำบุญวันสารทจะมีความแตกต่างกันออกไป แล้วแต่หมู่ชน และขนบธรรมเนียมประเพณีตามภูมิภาค ควรยอมรับว่าแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน และปฏิบัติตามแต่ละท้องถิ่นจะนิยม


การทำบุญวันสารท ควรถือเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ญาติสนิทมิตรสหายทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมี ชีวิตอยู่เพราะเป็นช่วงที่ว่างจากการทำนาบ้างหรือไม่เร่งรัดเหมือนกับช่วงปักดำ หรือช่วงเก็บเกี่ยว


การไปวัดฟังธรรมในอดีต มักเป็นเรื่องของคนเฒ่าคนแก่เป็นส่วนใหญ่ในวันเช่นนี้ควรส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและคนหนุ่มสาว ไปวัดทำบุญและรักษาศีลให้มากขึ้น เพราะเป็นวัยที่ยังมีพลังที่จะเป็นหลักต่อไปในอนาคต และเป็นช่วงเวลาที่ไม่เร่งรัดงานมากนัก

พระสงฆ์ควรเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ประเพณีวันสารทให้ประชาชนเข้าใจและรู้ซึ้งถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมให้สามารถปฏิบัตได้อย่างถูกต้อง ควรส่งเสริมฟื้นฟูประเพณีวันสารท ให้มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทุกกลุ่ม เพื่อเป็นที่รู้จักและแพร่หลายต่อไป


 

กิจกรรมวันสารท


ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การตักบาตรจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ การตักบาตรที่สำคัญในแต่ละท้องถิ่นได้แก่ 


- ตักบาตรขนมกระยาสารท 

ขนมกระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะขาดเสียมิได้ด้วยมีความเชือที่ว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญ-
- ตักบาตรน้ำผึ้ง

เป็นที่นิยมในบางท้องถิ่นเท่านั้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นชาวไทยมอญ ที่นิยมตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง เนื่องจากมีเรื่องเล่าตามพุทธประวัติว่า "ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา ณ ป่าปาริไลยก์ เพียงพระองค์เดียว แต่มีผู้ถวายอุปัฏฐากเป็นช้างปาริเยยกะ เป็นผู้คอยถวายน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และลิงเป็นผู้หาผลไม้มาถวาย วันหนึ่งลิงได้นำน้ำผึ้งมาถวาย การถวายน้ำผึ้งจึงเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา"
- ฟังธรรมเทศนา 
- ถือศีลภาวนา 
- ปล่อยนกปล่อยปลา


ผลที่ได้รับ

เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนผู้มีพระคุณ
ได้แสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นกาผูกมิตรไมตรีกันไว้
เป็นการแสดงความเคารพ และอปจายนธรรมแก่ผู้หลักผู้ใหญ่
เป็นการกระทำจิตใจของตนให้สะอาดหมดจดไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ขจัดความตระหนี่ได้
เป็นการบำรุงหรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป


ขอบคุณที่มาเพิ่มเติมจาก

www.school.net.th

เรียบเรียงบทความโดย natui.com.au


#news#
NATUI Officially 2010-10-06 09:07:08 6855