วันนี้ขอเอาความรู้จริงๆมาฝาก ไม่เกี่ยวกับความเชื่อแบบที่คนไทยชอบเชื่อกันนะครับ
ฝากเผื่อเพื่อนๆที่รักสุขภาพจะได้หามาทานกันครับ
1.บัวหิมะคืออะไร หรือ "kefir"
บัวหิมะเติบโตในบริเวณที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3000 - 4000 เมตรขึ้นไปซึ่งแม้ในฤดูร้อนภูเขาก็ยังมีหิมะปกคลุม บัวหิมะเติบโตอย่างช้าๆ แต่ทนทานมาก โดยปกติเมล็ดของบัวหิมะเพียง 5% เท่านั้นที่เติบโตจนออกดอกได้ และใช้เวลา 3 ปีกว่าจะเก็บเกี่ยว ดอกบัวหิมะบานช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของทุกปี ดอกเป็นสีขาวหรือเขียวอ่อน ดูคล้ายดอกบัวขนาดใหญ่ เบ่งบานท้าทายลมและหิมะ ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่ว
คนเลี้ยงสัตว์แถบภูเขาถือว่าดอกบัวหิมะเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ เป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ หากใครได้เห็นถือเป็นบุญตา มีตำนานเล่าขานว่า เมื่อราชินีสวรรค์แห่งทะเลสาบหยก (Jade Lake) เสด็จลงมาอาบน้ำยังทะเลสาบเทียนชี หรือทะเลสาบสวรรค์ (Tianchiหรือ Heavenly Lake) ที่ซินเจียง เหล่านางฟ้าจะโปรยดอกบัวหิมะลงมา ทำให้ยอดเขาสูงชันกว่า 5,000 เมตรปกคลุมด้วยหิมะที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับทะเลสาบสะท้อนความงามของเทพธิดาเป็นที่จับตาน่าหลงใหลยิ่ง บัวหิมะจึงถูกนับถือเป็นดอกไม้ล้ำค่า ชาวบ้านเชื่อกันว่าหากได้ดื่มน้ำค้างจากกลีบดอกบัวหิมะแล้ว อาการป่วยไข้จะปลาสนาการ และมีชีวิตยืนยาวยิ่งขึ้น
ประเทศจีนได้บันทึกความสำคัญของบัวหิมะไว้ตั้งแต่โบราณ เช่นในหนังสือ The New Edition of Chinese Medicine เขียนสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) ระบุไว้ว่า แถบตะวันตกของจีนมีตัวยามีค่ากว่า 140 ชนิด และหนึ่งในนั้นคือ บัวหิมะ
ตามการค้นคว้านและวิจัย บัวหิมะเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายๆ ชนิดอยู่ร่วมกัน ประกอบด้วย :
Lactococcus lactis subsp. lactis
lactococcus lactis subsp. cremoris
Lactococcus lactis subsp. diacetylactis,
Leuconostoc mesenteroides subsp. cremoris
Lactobacillus Kefyr (thermophilic)
Klyveromyces marxianus var. marxianus
Saccaromyces unisporus
2.แล้วมันต่างหรือเหมือนกับโยเกิตไหม ?
ต่างกันครับ kefir จะเหลวกว่ากลิ่นแรงกว่า และมีแบคทีเรียที่มีประโยชน์หลายชนิดกว่า วิธีการทำก็ค่อนข้างต่างกัน คือเจ้าแลคโตบาสิลัสในโยเกิตมันข้อนข้างอ่อนแอ ทำให้เวลาทำต้องมีการต้มฆ่าเชื้อสารพัดและต้องใช้อุณภูมิที่เหมาะสมในการทำด้วยจึงจะได้ผลิตภัณท์ที่ดีและจะต้องผลิดจากนมเท่านั้น ส่วนเจ้า kefir มันสามารถผลิตได้จากหลายๆอย่างเช่น นม น้ำเต้าหู้ น้ำกะทิ หรือแม้แต่น้ำหวาน
การผลิตก็ไม่ยุ่งยาก แค่ต้องระวังให้ภาชนะสะอาด เรื่องอุณภูมิมันสามารถอยู่ได้ในอุณภูมิที่กว้างมาก (2-40 C)
ถ้าพูดกันในแนวของประโยชน์โดยตัดเรื่องของสารอาหารออกไป(เพราะเรื่องของสารอาหารมันเยอะมากเดี๋ยวจะมั่วไม่ได้ภาพพจน์)
เจ้าโยเกิตกินเข้าไปมันจะช่วยให้ทางเดินอาหารสะอาดและให้อาหารกับแบ็กทีเรียที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในลำใส้เรา
แต่จะเป็นแบบชั่วคราวคือกินแล้วก็แล้วกัน ส่วนเจ้า kifir มันจะมีประโยชน์เหมือนกับโยเกิตแต่จะต่างกันตรงเจ้านี้จะเข้าไปอาศัยอยู่ในลำใส้เราได้เลยทำให้มีประโยชน์ในระยะยาวกับระบบทางเดินอาหารของเรา แล้วมันยังมียีสเช่น Saccharomyces kefir และ Torula kefir ที่ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคที่จะเข้ามาในทางเดินอาหาร และจะทำให้เรามีความต้านทานต่อเชื้อโรคเช่น อีโคไล และปรสิตต่างๆดีขึ้น
นอกจากนี้เจ้า kifir จะช่วยย่อยอาหารทำให้อาหารดูดซึมดีขึ้น ทำให้ลำใส้สะอาดมีสารพิษตกค้างน้อยลง
และขนาดของ kifir จะเล็กกว่าโยเกิตทำให้ย่อยได้ง่ายกว่า
3.สารอาหารใน kefir มีอะไรบ้าง
นอกจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ และยีสแล้ว ใน kefir ยังมีกรดอมิโนที่จำเป็นต่างๆ และโปรตีนในนมซึ่งถูกย่อยไปแล้วเป็นบางส่วนโดยเจ้า kefir จะมีข้อดีคือดูดซึมได้ง่ายกว่าดื่มนมโดยตรง นอกจากนี้ยังมี แคลเซี่ยมและแมกนีเซี่ยม ช่วยบำรุงระบบประสาท มี ฟอสฟอรัส วิตตามิน B1,B12 วิตตามิน K
4.kefir มีประโยชน์อะไรบ้าง
ใช้ดื่ม ทำให้ระบบทางเดินอาหารดีขึ้น มีสารอาหารต่างๆมากมาย ช่วยให้ระบบประสาทดีขึ้น ทำให้จิตใจสงบลง ช่วยในท่านที่นอนไม่ค่อยหลับ ส่วนสรรพคุณอื่นๆเห็นทางเว็ปเมืองนอกและคนที่เคยดื่มมีบอกไว้สารพัด แต่ผมไม่กล้าเอามาบอกเพราะดูจะเกินจริงไปหน่อยเลยอยากให้ไปอ่านเองจากต้นฉบับและใช้วิจารณะญาณเอาเองครับ
อ้อส่วนสำหรับท่านสาวๆใช้พอกหน้าทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออก เห็นเขาว่าทำให้ผิวดีขึ้นและขาวขึ้นได้ดีกว่าใช้โยเกิตครับเพราะยีสต์ใน kefir ช่วยในการฆ่าเชื้อได้ส่วนนึง เห็นเขาว่าสิวนี่ลดลงเยอะเลยครับ
5.จะทำ kefir อย่างไร
ก่อนอื่นต้องไปหาหัวเชื้อมาครับ แย่ตรงที่คนไทยเชื่อกันผิดๆว่าห้ามซื้อขาย(ฝรั่งขายกันโครมๆ แพงเสียด้วย) ทำให้หาซื้อไม่ได้ ต้องตีซี้ขอเอาจากคนที่มีอยู่แล้วทำให้ลำบากพอสมควร
พอได้มาแล้วก็เอามาใส่ลงไปในขวดที่ลวกน้ำร้อนแล้ว เทนมรสจืดลงไปหนึ่งกล่อง ไม่ต้องปิดฝาแต่ให้ใช้ผ้าขาวบางปิดปากขวดไว้ ทิ้งไว้ที่อุณภูมิห้อง 24-48ชั่วโมงแล้วแต่ว่าชอบเปรี้ยวมากหรือน้อย แล้วให้เทนมออกมาโดยกรองเอาเจ้าหัวเชื้อ(ที่เป็นเม็ดๆก้อนๆสีขาวๆ)เก็บเอาไว้ เอานมที่ว่าไปดื่มโดยใส่น้ำผึ้ง ผลไม้ ฯลฯ
ตามชอบแช่ตู้เย็นไว้กินเย็นๆก็ได้ หรือจะเอาไปทาหน้าทาตัวก็แล้วแต่
ส่วนเจ้าหัวเชื้อก็ให้เอาไปใส่ขวดแช่นมเอาไว้เพื่อทำkifirชุดใหม่ต่อไป เจ้าหัวเชื้อนี้ไม่ว่าเราจะต้องการน้ำ kefir หรือไม่เราก็ต้องเปลี่ยนน้ำนมให้มันอย่างน้อยทุกๆสามวันครับ หากจะเก็บไว้นานกว่านั้นต้องเก็บในตู้เย็น แต่ยังไม่มีรายงานว่าเก็บได้นานสุดเท่าไรก่อนที่เชื้อมันจะตายครับ
เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ kefir
1. ห้ามขาย อันนี้ไม่จริงต่างประเทศเขาขายกันเพียบเลยครับ ด้วยคนไทยเชื่อว่าห้ามขายอย่างนี้ถึงได้หากินกันยากนักหนานี่แหละครับ เสียดายจริงๆ
2. ห้ามโดนภาชนะโลหะ อันนี้ไม่จริง แต่ไม่ควรหมักในภาชนะโลหะเพราะกรดที่เกิดจากการหมักจะไปกัดเอา โลหะขึ้นสนิม หรือออกมาปะปนกับน้ำ kefir ที่เราจะใช้ดื่มได้
Reference Site :
http://www.chinaembassy.org.ro/rom/kjwh/t222498.htm
http://www.chinaculture.org/gb/en_focus/2005-09/13/content_72761.htm
http://english.peopledaily.com.cn/english/200106/13/eng20010613_72510.html
http://www.chinataiwan.org/web/webportal/W5180047/Uadmin/A5614792.html
http://www.china.org.cn/english/2001/Mar/9288.htm