คำว่า กฐิน หรือ กฐินะ นี้ เป็นภาษาบาลี จัดเป็นสังฆกรรมชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อมาจากไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับขึงผ้าเป็นสี่เหลี่ยม เพื่อขึงผ้าให้ตึง สำหรับเย็บทำเป็นจีวร ซึ่งสมัยโบราณที่เครื่องเย็บปักถักร้อยยังไม่มีเครื่องจักรเช่นปัจจุบัน จึงเรียกไม้ชนิดนี้ว่า “ไม้สะดึง” ที่ลาดหรือกางออกไปเพื่อขึงเย็บจีวร การกรานกฐินเป็นคำมาจากกิริยาที่ลาดหรือกางไม้สะดึงนั้น และคำว่า "กฐิน" มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้ กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าไม้สะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีู รูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่ง หรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่า ไตรจีวร เป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัดเย็บย้อมทำให้เสร็จในวันนั้น ด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจ ที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้น คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า
กล่าวในสมัยพุทธกาลในคัมภีร์พระวินัยปิฏกกฐินขันธกะว่า มีพระภิกษุจากเมืองปาฐารัฐ หรือ ปาไถยรัฐ จำนวน ๓๐ รูปซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงคจะเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นได้พักอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้นพอถึงเมืองสาเกตก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ต้องอยู่จำพรรษาที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกตเกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพอออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทางต่อ การเดินทางในสมัยพุทธกาลในเขตประเทศอินเดียของพระภิกษุทั้ง ๓๐ รูป ท่านเดินทางด้วยเท้าไม่มีพาหนะอื่นใดจึงเดินทางได้ช้าซึ่งเมืองสาเกตอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีเป็นระยะทางประมาณ ๖ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ ก.ม.) หรือประมาณ ๙๖ กิโลเมตร แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยกรำฝนทนแดดไปตลอดทาง ทำให้สบง จีวร ของพระภิกษุเหล่านั้นต่างก็เปียกชุ่มโชกไปด้วยน้ำฝนไปตาม ๆ กันบางท่านก็จีวรขาดทะลุและเปรอะเปื้อนไปด้วยโคลนตม จนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าสมความประสงค์
เมื่อพระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น ต่อมาจึงเรียกประชุมสงฆ์และยกเรื่องราวของพระภิกษุทั้ง ๓๐ รูปนั้นเป็นเหตุ แล้วจึงทรงมีพระบรมพุทธานุญาตตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาว่าให้พระภิกษุที่จำพรรษาครบไตรมาส (๓ เดือน) ให้รับผ้ากฐินเสียก่อน ทั้งนี้เพราะว่าแม้ออกพรรษาแล้วก็ตามฝนก็ยังไม่หมดเสียทีเดียว ถ้าไม่มีความจำเป็นมากก็ให้อยู่รับผ้ากฐินเสียก่อนแล้วจึงเดินทางไปยังที่อื่น แล้วทรงกำหนดเวลาอันเป็นเขตของกฐินไว้ว่าตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ สามารถรับผ้ากฐินได้ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือประมาณไม่เกิน ๑ เดือน หลังจากออกพรรษา
โดยความเป็นจริงแล้วเรื่องผ้ากฐินนั้นเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์อย่างเดียวในการทำผ้า เมื่อพระภิกษุไปได้ผ้ามาจากที่ต่าง ๆ แล้วนำมารวมกันเย็บให้เป็นผืนเดียวแล้วตกลงกันว่าจะมอบจีวรชุดนี้ให้แก่พระภิกษุรูปใด (ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นผ้าส่วนใหญ่เป็นผ้าบังสุกุล หรือผ้าที่พิจารณามาจากผ้าห่อศพ ผ้าจึงมีจำนวนน้อยและหายากการจะทำเป็นจีวรจึงทำได้เพียงผืนเดียว) และยอมมอบผ้าที่ทำเป็นจีวรนั้นให้แก่พระภิกษุที่มีผ้าเก่าที่สุดนำไปใช้นุ่งห่ม
ในธรรมบทภาค ๔ กล่าวว่าในครั้งพุทธกาลมีการประชุมใหญ่ในการทำผ้า เมื่อครั้งพระอนุรุทธะได้ผ้าบังสุกุลมา จะทำจีวรเปลี่ยนผ้าครองสำรับเก่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบจึงพร้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ รูป เสด็จไปประทับเป็นประธานในวันนั้น พระอสีติมหาสาวก ก็ไปร่วมประชุมช่วยทำผ้ากฐิน พระมหากัสสปะนั่งอยู่ต้นผ้า พระสารีบุตร นั่งอยู่ท่ามกลางผ้า พระอานนท์นั่งอยู่ปลายผ้า พระภิกษุสงฆ์ช่วยกันกรอด้ายสำหรับเย็บ พระบรมศาสดาทรงสนเข็ม พระโมคคัลลานะเป็นผุ้อุดหนุนกิจการทั้งปวงประชาชนต่างนำสิ่งของไปถวาย เมื่อผ้าทำเสร็จแล้ว จึงมีการประชุมสงฆ์ทำสังฆกรรมเกี่ยวกับผ้ากฐิน ต่อมาด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ของสังคมในอินเดีย มีผู้ศรัทธานำผ้ากฐินมาถวาย แต่ไม่ปรากฏนามว่าผู้ใดเป็นผูู้้ได้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระบรมพุทธานุญาต
ผ้าที่ควรทำเป็นผ้ากฐินมี ๕ ชนิด คือ
องค์แห่งพระภิกษุผู้ควรกรานกฐินมี ๘ คือ
บุพกรณ์มี ๗ คือ
อานิสงส์ของพระภิกษุเมื่อได้กรานกฐินมี ๕ คือ
การถวายผ้ากฐิน ซึ่งหัวใจของกฐิน คือ ผ้า ๓ ผืน คือ จีวร สบง สังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร ถ้ามากกว่านั้นเป็นอดิเรกจีวร หรือผ้าส่วนเกินเท่านั้น การถวายผ้ากฐินเป็นการนำผ้ามาถวายแก่พระสงฆ์ในเขตที่กำหนดไว้เท่านั้นเลยเวลาไปไม่ได้ ส่วนวัดที่จะรับกฐินได้จะต้องมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาจำนวน ๕ รูป หรือ ๕ รูปขึ้นไปครบองค์สงฆ์ จึงจะเป็นกฐินและจะต้องรับกฐินที่อาวาสของตัวเองเท่านั้นจึงจะถูกต้อง พระรูปเดียวที่จำพรรษาอยู่ในอาวาสหนึ่งอาวาสใด ถ้ารับกฐินก็จะเรียกว่ารับกฐินไม่ได้ เพราะว่าไม่ครบองค์สงฆ์ หรือมีการทอดกฐินกันจำนวนร้อยวัดแต่กลับไปถวายอยู่วัดเดียวโดยให้พระสงฆ์ที่จำพรรษาวัดอื่นมารับที่วัดนั้นอันมิใช่อาวาส ที่จำพรรษาของตัวเองยิ่งผิด ผ้า เป็นนิสัคคีย์ พระสงฆ์ที่ใช้ผ้าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ อานิสงส์กฐินจึงไม่ขึ้นเป็นแต่เพียงผ้าป่า และก็ผิดพุทธานุญาต ผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งจะอ้างว่าเป็นประเทศปลายแดนไม่ได้ ก็ควรจะถวายเป็นผ้าป่าไปก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพียงแต่ทำให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบัญญัติไว้ ก็ถือว่าเป็นบุญบริสุทธิ์
อีกคำหนึ่งที่จะได้ยินในขณะที่มีพิธีการทอดกฐินคือคำว่า อปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบว่าควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้วจึงหารือกันต่อไปว่า ผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ภิกษุรูปใด การปรึกษาหารือ การเสนอความเห็นเช่นนี้เรียกว่าอปโลกน์ (อ่านว่า อะ-ปะ-โหลก) หมายถึง การช่วยกันมองดูว่าจะสมควรอย่างไร เพียงเท่านี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้ว ต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์ จึงนับว่าเป็นสังฆกรรมเรื่องกฐิน ดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้น
คำถวายผ้ากฐินต่อที่ประชุมสงฆ์ มีว่า อิมํ สปริวารํ กฐินจีวร ทุสสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ คำว่า สปริวารํ ซึ่งแปลว่า กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังจะกล่าวในรายละเอียด
บริวารบริขาร มีดังนี้
ตั้งนะโม ๓ จบ.......แล้วว่าดังนี้
อิมัง สะปริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต
สังโฆ อิมัง สะปริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคัณหาตุ ปาฏิคคะเหตวา จะ อิมินา
ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งของบริวารทั้งหลายเหล่านี้
แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงโปรดรับ ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้า
ทั้งหลาย ครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยจีวรนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ
ที่มา phuttha.com