2024-11-25

การทำหนังสือเดินทางอิเล็คโทรนิกส์ (E-Passport)




 

การทำหนังสือเดินทางอิเล็คโทรนิกส์ (E-Passport) 

 

  1. การทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีการเก็บข้อมูลชีวภาพ ได้แก่ ลายนิ้วมือ และภาพถ่ายของผู้ร้อง ดังนั้น ผู้ร้องจะต้องมาทำหนังสือเดินทางด้วยตนเองเท่านั้น
  2. การทำหนังสือเดินทางมีค่าธรรมเนียม 55 ดอลลาร์ออสเตรเลีย และใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 3-6 สัปดาห์ เนื่องจากต้องส่งกลับไปที่ประเทศไทยเพื่อผลิตเล่ม
  3. เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง

 

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) และสำเนา
  • หนังสือเดินทางเล่มเดินทางเล่มเดิม (ฉบับจริง) และสำเนา
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (หากมี)
  • สำเนาทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่า (หากมี)

- กรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจออสเตรเลีย พร้อมสำเนา 1 ชุด

 

สำหรับผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องได้แก่

  • สูติบัตรไทย และสำเนา (กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ และยังไม่ได้ทำบัตรประชาชน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เยาว์ (ฉบับจริง) และสำเนา
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา
  • สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดา (เฉพาะบิดาที่เป็นชาวต่างชาติ)

บิดาและมารดาจะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในการออกหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันรับคำร้อง

 

 

ทั้งนี้ หากบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยต้องไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ เขต,อำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ไทย กรณีที่อยู่ต่างประเทศ เท่านั้น

 

 

**เฉพาะกรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ที่บิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าที่ได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ ให้ผู้พาผู้เยาว์มาทำหนังสือเดินทาง โดยผู้รับมอบอำนาจต้องอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับอำนาจ และหนังสือยินยอมจากบิดาและมารดาให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ จากเจ้าหน้าที่ เขต,อำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ไทย กรณีที่อยู่ต่างประเทศ เท่านั้น

 

 

กรณีที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของมารดา มารดาสามารถลงนามให้ความยินยอมได้เพียงฝ่ายเดียว พร้อมกับหนังสือปกครองบุตร (ป.ค.14) ที่ออกโดยอำเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น และบัตรประจำตัวประชาชนของมารดา

 

 

กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ให้บิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตมาลงนามให้ความยินยอม พร้อมกับใบมรณบัตรของอีกฝ่ายหนึ่ง

 

 

กรณีอื่นๆ ที่จะต้องมีคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง

 

  • กรณีบิดาและมารดาเสียชีวิต
  • กรณีบิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติ มิได้จดทะเบียนสมรส และไม่สามารถตามหาอีก ฝ่ายหนึ่งมาให้คำยินยอมได้
  • กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาโดยตลอดและสามารถติดต่อมารดาได้

 

 

สำหรับพระภิกษุสงฆ์

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องได้แก่

  • สำเนาหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน/วัด
  • หนังสือสุทธิ
  • หนังสืออนุมัติจากศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร (ศตภ.)
  • สำเนาใบตราตั้งฐานานุกรม ในกรณีที่พระภิกษุการเปลี่ยนแปลงสมณศักดิ์
  • เอกสารประกอบ อาทิ ใบตราตั้งสัญญาบัตร ใบเปรียบธรรม ใบตราตั้งเจ้าอาวาส ใบตราตั้งเจ้าคณะตำบล ใบฐานานุกรม(ชั้นพิเศษ)

 

กรณี สามเณรอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติจากเจ้าอาวาส ซึ่งระบุข้อความว่า ยินยอมให้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศมาแสดงด้วย

 

 

การรับเล่ม

 

  • ผู้ร้องสามารถรับเล่มหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ได้ที่สถานกงสุลฯ ด้วยตนเอง โดยต้องนำ ใบรับเล่มและหนังสือเดินทางมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
  • ทำหนังสือมอบฉันทะให้บุคคลอื่นมารับแทน
  • หากประสงค์ให้สถานกงสุลฯ จัดส่งหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ให้ทางไปรษณีย์ กรุณาจัดหาซองติดแสตมป์ พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเองให้ชัดเจน ทั้งนี้ สถานกงสุลฯ ไม่รับผิดชอบกรณีเอกสารสูญหาย ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ

 

สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม แจ้งความประสงค์ขอทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่นี่ Download

 

 

 

: thaiconsulatesydney

Natui Website 2016-08-02 14:54:24 6747