28 ก.ย. 2016 การไปรษณีย์ออสเตรเลียหรือ Australia Post ได้ออกแสตมป์ชุดใหม่ในชุด"สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์" โดยมีช้างไทยในสวนสัตว์ Melbourne Zoo เป็นนายแบบและนางแบบบนดวงตราไปรษณียากรณ์
เป้าหมายของแสตมป์ชุดนี้นอกจากเพื่อใช้งานเป็นค่าบริการติดบนซองจดหมายแล้ว ยังเป็นสิ่งสะสมเช่นแผ่นตราไปรษณียากรณ์หรือแผ่นชีท, ซองวันแรกจำหน่าย, บัตรภาพ, บัตราไปรษณียากรที่ระลึกและอื่น ๆ และยังเป็นการสอนให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์และคนรุ่นใหม่อย่างพวกเขาจะช่วยเหลืออะไรได้บ้างในปัจจุบันและอนาคต
ดวงตราไปรษณียากรณ์ซีรีส์ใหม่ล่าสุดจะออกวางจำหน่ายในเดือนตุลาคม ในฐานะเป็นดวงตราไปรษณียากรณ์สะสมแห่งเดือนหรือ “Stamp Collecting Month ” ประกอบด้วย 7 ดวง เป็นสัตว์ท้องถิ่น 4 ชนิดและสัตว์ต่างถิ่นที่อยู่ในโครงการป้องกันการสูญพันธุ์อีก 3 ชนิด
ในจำนวนนี้ประกอบด้วย นกแก้วท้องส้ม (Orange-bellied Parrots), ช้างเอเชีย (Asian Elephants), เสือดาวหิมะ (Snow Leopards), เต่าเวสเทิร์นสแวมพ์ทอร์เด็ดส์ (Western Swamp Tortoise), กอริลลาเวสเทิร์นโลว์แลนด์ (Western Lowland Gorillas), กบเซาเทิร์นคอร์โรโบรี (Southern Corroboree Frog) และที่ไม่มีในภาพก็คือตัวนอร์เทิร์นควอลล์ (Northern Quoll)
ช้างไทยเชื่อกันว่า อาจเป็นกลุ่มสัตว์จากประเทศไทยกลุ่มแรกที่ปรากฎบนแสตมป์ออสเตรเลีย ก่อนหน้านี้เคยมีคนไทยคนแรกปรากฎอยู่ในดวงตราไปรษณียากรณ์ออสเตรเลียที่รู้จักกันในชุดแม่ค้าขายกล้วยหอม (Banana Seller) ที่ตลาดขายผลไม้ท้องถิ่น Rusty’s Market ในเมือง Cairns โดยมีวันแรกออกจำหน่ายวันที่ 24 กรกฎาคมปี 2007 อันเป็น 1 ใน 5 ดวงของแสตมป์ชุด "Market Feast"
เป็นภาพแม้ค้า (คนไทย) กำลังส่งยิ้มพร้อมกับยื่นกล้วยหอม ด้านหลังมีชื่อผลไม้มะเฟือง, เงาะ, มะละกอ, สับปะรดและมะพร้าว (ผลไม้บ้านเราทั้งนั้น แต่ก็มีปลูกในรัฐควีนสแลนด์และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี โดยเฉพาะที่เมือง Cairns ซึ่งมีอากาศเหมือนประเทศไทย)
จิงโจ้นิวส์ได้ใช้เวลาอันจำกัดค้นได้เพียงภาพแสตมป์ แต่ชื่อและเนื้อหาของสตรีไทยรายนี้หาไม่พบ เท่าที่จำได้คุณสุรศักด์ ดวงรัตน์เป็นผู้รายงานข่าวเรื่องนี้ในหนังสือพิมพ์ไทย-ออสนิวส์เมื่อหลายปีก่อน หากจะค้นกันคงต้องไปที่หอสมุดรัฐสภาครับ...
ที่มา: https://jingjonews.com/