2024-11-23

ปรากฎการณ์ซูเปอร์มูนคืน 14 พ.ย. นาซ่าอ้างจะเกิดอีกครั้งในปี 2034



14 พ.ย. 2016 ชาวรัฐควีนสแลนด์และเวสเทิร์นออสเตรเลียได้มีโอกาสเห็นปรากฎการซูเปอร์มูนในคืนวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายนอย่างชัดเจน ที่องค์การ NASA อ้างว่าจะไม่มีโอกาสเห็นรายละเอียดของผิวดวงจันทร์อย่างนี้จนกว่าจะถึงปี 2034 ในขณะที่ผู้คนส่วนอื่น ๆ ของประเทศต้องผิดหวัง เนื่องจากท้องฟ้ามีเมฆปกคลุม

 

 

 

 

ปรากฎการณ์ซูเปอร์มูน (Supermoon) หรือจันทร์ดับเป็นปรากฎการที่โลก ดวงจันทร์และพระอาทิตย์เรียงเป็นแนวเดียวกัน โดยดวงจันทร์อยู่ใกล้กับโลกมากที่สุด แต่ปีนี้มีความพิเศษเพราะสามารถเห็นรายละเอียดของผิวดวงจันทร์ได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเคยเกิดขึ้นครั้งล่าสุดในปี 1948 หรือเมื่อ 68 ปีที่ผ่านมา และจะเกิดอีกครั้งในปี 1934 หรือในอีก 18 ปีข้างหน้า

ที่นครบริสเบนนักดาราศาสตร์, นักถ่ายรูปสมัครเล่นและครอบครัวที่สนใจดูปรากฎการณ์ธรรมชาตินาน ๆ ครั้งได้ไปรวมตัวกันที่บนจุดชมวิว Mount Coot-tha   ซึ่งพวกเขาไม่ผิดหวัง

ในขณะที่ชาวซิดนีย์หลายหมื่อนคนมารวมตัวกันที่ชายหาดสำคัญต่าง ๆ แต่พวกเขาต้องประสบความผิดหวังเพราะท้องฟ้าเต็มไปด้วยเมฆ ทำให้เห็นดวงจันทร์วันเพ็ญไม่ชัดเท่าที่ควร

 

 

 

 

รศ. John o’Byrne ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์แห่งภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่า การเห็นรายละเอียดของผิวดวงจันทร์ในวันเพ็ญธรรมดาจะต้องใช้ความสังเกตอย่างมากหรืออาจจะต้องใช่กล้องดูดาวช่วย

แต่ในวันซูเปอร์มูนพิเศษนี้ ดวงจันท์จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้น 14% และให้ความละเอียดของพื้นผิวเพิ่มขึ้น 30% การที่ดวงจันทร์มีพื้นผิวที่ใหญ่ขึ้นย่อมหมายความว่าซูเปอร์มูนของวันนี้ (14 พฤศจิกายน 2016) จะส่งแสงสว่างกว่าในช่วงที่ดวงจันท์อยู่ไกลจากโลกมากที่สุดถึง 3 เท่า

 

 

 

 

 

Souce:  https://jingjonews.com

Natui Website 2016-11-15 11:35:38 2019