30 มิ.ย. 2015 ข่าวลือเศรษฐกิจกรีซถึงจุดจบพร้อมกับสถานการณ์ไม่แน่นอนในเอเชียได้ทำให้เงินกองทุนเงินสะสมเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุงานหรือซูเปอร์ฯของชาวออสเตรเลียขาดหายไปถึง 50 พันล้านเหรียญ และมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียหดหายไปทันที 40 พันล้านเหรียญเมื่อวานนี้ (29 มิถุนายน)
เป็นที่คาดว่าประเทศกรีซจะขอเลื่อนชำระหนี้งวดแรกจำนวน 2.3 พันล้านเหรียญซึ่งครบกำหนดในวันนี้ที่ 30 มิถุนายน ข่าวรัฐบาลเตรียมปิดธนาคารอาจนานเป็นสัปดาห์เพื่อป้องกันประชาชนแห่ถอนเงิน และจำกัดจำนวนเงินที่ประชาชนสามารถถอนได้จากตู้ ATM ได้ก่อกระแสให้ทั่วโลกเกิดความวิตกว่าเหตุการณ์ในกรีซอาจก่อให้เกิดสถานการณ์อย่างวิกฤติการณ์การเงินโลก หรือ GFC ในปี 2008-09 หวนกลับมาอีกครั้ง
ในวันนี้มูลค่าตลาดหุ้นในออสเตรเลียลดฮวบลงทันที 40 พันล้านเหรียญ เมื่อรวมทั้งสัปดาห์มูลค่าหุ้นลดลง 5.5% หรือ 11% นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หรือสร้างความเสียหายทั้งปี 190 พันล้านเหรียญ
นอกจากนั้นสถานการณ์ในประเทศจีน ทำให้มูลค่าตลาดหุ้นจีนได้ลดลงถึง 3.3% เมื่อวานนี้ (29 มิถุนายน) มูลค่าหุ้นหลักในประเทศจีนได้ลดลง 12% โดยลดลงทั้งเดือนมิถุนายนที่ 21% ทำให้ทางการต้องเข้ามาแทรกแซง
สถานการณ์ภายนอกประเทศที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผลตอบแทนเงินกองทุนซูเปอร์โดยเฉลี่ยหดหายไปเกือบ 3% เพียงระยะเวลา 1 เดือน
ในยุโรปหลังจากรัฐบาลกรีซสิ้นสุดการเจรจาในเรื่องข้อตกลงความช่วยเหลือทาการเงินในเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จบลงที่ร.มว.คลังโซนยุโรปปฎิเสธข้อเรียกร้องของกรีซ นาย Alexis Tsipras นายกรัฐมนตรีกรีซ ได้เสนอให้มีการทำประชามติถามความเห็นชาวกรีซว่า จะยอมรับหรือปฏิเสธมาตรการเช้มงวดทางการเงินต่อไปหรือไม่
รัฐบาลกรีซดึงให้ประชาชนเข้ามาร่วมตัดสินใจหลังจากธนาคารยุโรป (ECB) เรียกร้องให้กรีซมีความจริงใจ และขู่ว่าจะไม่ให้เงินช่วยเหลืออีกจนกว่ากรีซจะยอมนำมาตรการเช้มงวดทางการเงินมาใช้
รัฐบาลกรีซได้ออกมาตรการปิดการดำเนินการของธนาคารเป็นการชั่วคราว และกำหนดให้ประชาชนเบิกถอนเงินจากตู้ ATM ได้ไม่เกินบัญชีละ 60 ยูโร (86 เหรียญ) ต่อวัน แหล่งข่าวในวงการธนาคารกรีซกล่าวว่า เพียงวันแรกตู้ ATM 40% ของทั้งหมดได้ถูกประชาชนแห่กันถอนจนเงินหมดตู้
ขณะนี้กรีซซึ่งมีประชากร 11 ล้านคนและมีขนาดเศรษฐกิจ 2.2% ของสหภาพยุโรป (EU) แต่มีหนี้สินทั้งประเทศ 320 พันล้ายยูโร โดย EU ได้อัดฉีดเงินเข้าผยุงฐานะประเทศไปแล้ว 240 พันล้านยูโร, ยังเหลือเงินอัดฉีดจาก EU อีก 7.2 พันล้านยูโรที่จะถูกเบิกหมดในวันพรุ่งนี้ที่ 1 กรกฎาคม, กรีซมีภาระหนี้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ที่ถึงกำหนดชำระในวันเดียวกันอีกจำนวน 1.6 พันล้านยูโร และประเทศยังต้องการเงินเพื่อใช้จ่ายในส่วนของงานสาธารณะ, เงินบำนาญเลี้ยงชีพและเงินสวัสดิการอีก 2.2 พันล้านยูโร
นาย Brain Martin ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจโลกของธนาคาร ANZ กล่าวว่า การปฏิเสธชำระหนี้ในวันที่ 1 กรกฎาคม จะยังไม่มีผลให้กรีซถูกขับไล่ออกจากการเป็นสมาชิก EU แต่จะทำให้กรีซขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกับบรรดาเจ้าหนี้
เขากล่าวว่า หากการลงประชามติในวันที่ 5 กรกฎาคมออกมาไม่ยอมรับมาตรการของสหภาพยุโรป ก็อาจจะนำมาสู่สถานการณ์ที่ยำแย่ยิ่งขึ้นไปอีก
เครดิตข่าวจาก เวปไซด์ jingjonews