2024-12-23

ไข้ซิกา Zika virus คืออะไร? ร้ายแรงแค่ไหน? และความพร้อมของรัฐควีนส์แลนด์ในการรับมือ



กรมอนามัยแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์พบผู้ป่วย ไข้ซิกา (Zika fever, Zika virus disease) สองรายแล้วในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่กลับมาจากแคริบเบียน อย่างไรก็ตามทางกรมอนามัยกล่าวว่าไวรัสนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่ออสเตรเลียแต่อย่างใด มีความเป็นไปได้น้อยมากที่ไข้ซิกาจะเริ่มแพร่ระบาดในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เนื่องจากยุงที่แพร่เชื้อไม่ได้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่นี่ แม้ว่าจะพบยุงชนิดนี้ได้ในบางพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ผู้ป่วยทั้งสองที่ติดเชื้อไม่มีอาการรุนแรงใด ๆ และได้รับการรักษาหายขาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

"Countries and territories with active Zika virus transmission"
ประเทศที่มีรายงานการระบาดของไวรัสซิกา

 

ไข้ซิกา Zika คืออะไร?

ไวรัสซิกาเป็นไวรัสที่มีรหัสพันธุกรรมเป็น RNA สายเดี่ยวในตระกูลเดียวกับไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดไข้เลือดออก และโรคไข้สมองอักเสบ ต้นกำเนิดของชื่อ Zika เกิดมาจากสถานที่แรกที่เชื้อนี้ถูกแยกได้จากลิงในป่านี้ซึ่งอยู่ในประเทศยูกันดา โดยการระบาดของไวรัสชนิดนี้มียุงเป็นพาหะ ซึ่งเป็นยุงลายบ้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Aedes aegypti) ในประเทศเขตร้อนและเป็นยุงที่เป็นพาหะของไข้เลือดออกด้วย

 

อาการร้ายแรงแค่ไหน?

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการและสามารถหายเองได้ มีเพียง 1 ใน 5 คนเท่านั้นที่แสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อภายใน 1 อาทิตย์ โดยจะมีอาการแสดงคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ ผื่นแดง ตาแดง ปวดข้อ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลบ้าง แต่สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรที่จะระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากไวรัสตัวนี้จะส่งผลถึงทารกในครรภ์ให้มีความเสียงต่อการพิการแต่กำเนิด ทำให้มีขนาดศรีษะที่เล็กผิดปกติ หรือเสียชีวิตได้

 

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้ซิกา จึงเตือนให้คุณแม่ที่อุ้มครรภ์อยู่ พยายามหลีกเลียงไม่เดินทางไปยังโซนที่ไข้ซิกากำลังระบาด ซึ่งได้แก่ ทวีปอเมริกาใต้ อเมริกากลาง ประเทศเม็กซิโก แคริบเบียน ประเทศซามัว และประเทศตองกา ขณะนี้ องค์การอนามัยโรคได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไข้ซิกาแล้ว โดยพบว่ามีผู้ป่วยอยู่ใน 20 กว่าประเทศ

 

ทางบริสเบนและควีนส์แลนด์มีความพร้อมอย่างไรในการรับมือ

 

ในส่วนของทางรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลียเองนั้น ก็ได้เตรียมการป้องกัน และกำลังทำการค้นคว้าเกี่ยวกับสายพันธ์ยุงอื่น ๆ ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ ทำให้รัฐควีนส์แลนด์ทางตอนเหนือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการแพร่พันธ์ุของยุงมากที่สุด ทางด้านกรมอนามัยประจำรัฐได้ออกมาแถลงว่า.. “ในขณะนี้ยังไม่มีภัยร้ายแรงใด ๆ แต่พวกเราก็จะคอยระวังเฝ้าดูสถานการณ์ต่อไป”

 

อัพเดท (6 ก.พ. 2016) ควีนส์แลนด์พบผู้ป่วยไข้ซิการายแแรกของปี 2016 หลังจากปีที่ผ่านมาพบที่ 3 ราย ลดลงจากปี 2014 ที่พบที่ 7 ราย ทำให้ในตอนนี้ควีนส์แลนด์พบผู้ป่วยรวมแล้วที่ 11 ราย

 

 

ที่มา : th.mabrisbane.com

 

 

 

Natui Website 2016-02-09 02:03:24 3253